Skip to main content
eScholarship
Open Access Publications from the University of California

WestJEM International Abstracts: Thai

Western Journal of Emergency Medicine International Abstracts

The Western Journal of Emergency Medicine now hosts translated, international abstracts of recent articles. The complete website can be found at http://escholarship.org/uc/uciem_westjem.

Cover page of กปริมาณสารรังสีที่ได้รับจากการถ่ายภาพเอกซเรย์สำ�หรับแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

กปริมาณสารรังสีที่ได้รับจากการถ่ายภาพเอกซเรย์สำ�หรับแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

(2012)

บทนำ  การถ่ายภาพเอกซเรย์ต่างๆทางการแพทย์เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ชาวอเมริกันต้องสัมผัสกับสารรังสี ซึ่งในห้องฉุกเฉินมักทำการถ่ายภาพเอกซเรย์ต่างๆอยู่เสมอ ผู้วิจัยต้องการศึกษาปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ต่างๆโดยเฉพาะการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ รวมทั้งแนวทางที่ทำให้ผู้ป่วยลดการได้รับรังสีโดยไม่จำเป็นที่ห้องฉุกเฉิน

 

วิธีการ ผู้วิจัยทำการทบทวนบทความที่เกี่ยวกับการได้รับสารรังสีภายในห้องฉุกเฉินของปีคศ.2010

 

ผลลัพธ์โดยทั่วไปผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากการถ่ายภาพเอกซเรย์มากกว่าความเสี่ยงต่อการได้รับรังสีจนก่อเกิดมะเร็ง อย่างไรก็ดีจากการทบทวนพบว่ามีโรคเฉพาะ3โรคที่ผลกระทบจากโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับรังสีจนเกิดมะเร็งมากกว่าผลประโยชน์ต่อผู้ป่วย ได้แก่ โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด ปวดหลัง และเจ็บท้องบ่อยๆในโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง(inflammatory bowel disease)ดังนั้นในโรคเหล่านี้แพทย์ควรปรึกษาร่วมกับผู้ป่วยในการเปรียบเทียบระหว่างประโยชน์ที่ได้รับจากการถ่ายภาพเอกซเรย์และโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับรังสีจนเกิดมะเร็ง

 

สรุป   แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินเป็นด่านแรกที่ทำให้ผู้ป่วยสัมผัสกับสารรังสี ดังนั้นแพทย์จึงควรเข้าใจถึงปริมาณรังสีจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ต่างๆที่ส่งผลต่อโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง  งานวิจัยในอนาคตควรพัฒนาแนวทางที่จะจำกัดผู้ป่วยไม่ให้ได้รับสารรังสีโดยไม่จำเป็น

[West J Emerg Med. 2012;13(2):202–210.]

Cover page of การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมสับสนเฉียบพลันในห้องฉุกเฉินน

การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมสับสนเฉียบพลันในห้องฉุกเฉินน

(2012)

จำนวนผู้สูงอายุที่มารับบริการในห้องฉุกเฉินมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายการศึกษาพบว่าแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินมักไม่ค่อยคำนึงถึงและให้การวินิจฉัยผิดพลาดในภาวะซึมสับสนเฉียบพลันของผู้สูงอายุได้บ่อย  รวมทั้งยังไม่เข้าใจการดูแลรักษาโรคนี้อย่างถ่องแท้  ภาวะนี้ไม่ใช่เกิดจากความชรา และบ่อยครั้งกลับกลายเป็นอาการนำของโรคร้ายแรงบางโรคได้  บทความนี้จะทำการทบทวนความสำคัญของโรค คำจำกัดความ ลักษณะของโรคเพื่อให้แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินเข้าใจโรคได้ดีขึ้นทั้งในการวินิจฉัย ประเมินและให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม

 [West J Emerg Med.2012;13(2):194–201.]

Cover page of ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการดื่มแอลกอฮอลล์และจำ�นวนคู่นอน

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการดื่มแอลกอฮอลล์และจำ�นวนคู่นอน

(2012)

บทนำ  ผู้วิจัยได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแอลกอฮอลล์ที่ดื่มภายใน2ชั่วโมงของการมีเพศสัมพันธ์และจำนวนของคู่นอน  จากกลุ่มตัวอย่างประชากรชาวแอฟริกันที่อาศัยอยู่ในอเมริกาและชาวละตินที่มารับบริการยังห้องฉุกเฉิน

วิธีการ ทำการศึกษาแบบตัดขวาง(cross sectional study)ชนิดไปข้างหน้า  โดยเลือกสุ่มกลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการในห้องฉุกเฉินภายใน5สัปดาห์ของช่วงเวลาที่ทำการศึกษา ผู้วิจัยอ่านแบบสอบถามให้ผู้ป่วยฟังเพื่อตอบเกี่ยวกับปริมาณแอลกอฮอลล์ที่ดื่มและจำนวนคู่นอนทั้งหมดภายใน1ปีที่ผ่านมา  ข้อมูลถูกวิเคราะห์โดยใช้multiple variable  negative binomial regression modelsและ ผลประทบถูกวิเคราะห์โดยใช้ตัวแปรที่เป็นinteraction terms.

ผลลัพธ์ จำนวน395คนบอกว่ามีคู่นอนเฉลี่ย1.4คนภายใน1ปีที่ผ่านมา(standard error= 0.11) โดยที่23%บอกว่ามีปริมาณการดื่มแอลกอฮอลล์ค่อนข้างมากผิดปกติ และ28%บอกว่าได้ดื่มแอลกอฮอลล์ก่อนมีเพศสัมพันธ์  จากการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสถิติระหว่างปริมาณการดื่มแอลกอฮอลล์ที่มากกับจำนวนคู่นอน อย่างไรก็ดีพบว่าการดื่มแอลกอฮอลลก่อนมีเพศสัมพันธ์มักทำให้มีจำนวนคู่นอนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ท่ามกลางกลุ่มที่ดื่มแอลกอฮอลล์ปริมาณมาก ยิ่งถ้ามีการดื่มแอลกอฮอลล์ก่อนมีเพศสัมพันธ์ร่วมด้วยก็มักมีโอกาสเสี่ยงที่จะเพิ่มจำนวนคู่นอนมากขึ้นถึง3เท่า(risk ratio =3.2, confidence interval [CI]= 1.9–5.6 )ความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มแอลกอฮอลล์ก่อนมีเพศสัมพันธ์และจำนวนคู่นอนขึ้นกับปริมาณการดื่มแอลกอฮอลล์อย่างมากมานาน>1ปี  โดยรวมพบว่าการดื่มแอลกอฮอลล์ก่อนมีเพศสัมพันธ์มักทำให้เพิ่มจำนวนคู่นอนโดยเฉพาะพบมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ดื่มแอลกอฮอลล์ในปริมาณมากอย่างผิดปกติด้วย

 

สรุป  การดื่มแอลกอฮอลล์ในปริมาณมากร่วมกับการมีคู่นอนมากกว่า1คนมักพบร่วมกันโดยเฉพาะในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอลล์ก่อนมีเพศสัมพันธ์    การพยายามที่จะลดการเกิดโรคทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ในผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินควรทำการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการดื่มแอลกอฮอลล์และพฤติกรรมเสี่ยงของการมีเพศสัมพันธ์   ดังนั้นในห้องฉุกเฉินควรจัดตั้งระบบเพื่อทำการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงด้วยการตรวจสืบค้น ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น และส่งต่อผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเพื่อไปปรับแก้ไขพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอลล์และพฤติกรรมทางเพศให้เป็นไปอย่างเหมาะสม

[West J Emerg Med. 2012;13(2):151–159.]

Cover page of กปริมาณสารรังสีที่ได้รับจากการถ่ายภาพเอกซเรย์สำ�หรับแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

กปริมาณสารรังสีที่ได้รับจากการถ่ายภาพเอกซเรย์สำ�หรับแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

(2012)

บทนำ  การดูแลผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินมักมีอุปสรรคจากการซักประวัติเก่าของผู้ป่วย  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักค้นหาจากเวชระเบียนได้เป็นอย่งดี  งานวิจัยนี้ทำการศึกษาความสมัครใจของผู้ป่วยฉุกเฉินและแพทย์ในการนำข้อมูลจากเวชระเบียนมาใช้

วิธีการ เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง(cross sectional study)โดยทำการสอบถามผู้ป่วยที่มาใช้บริการในห้องฉุกเฉินทั้งหมด219คนและมีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมา184คน(84%)  ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยทั้งข้อมูลพื้นฐาน  ความสมัครใจ อุปสรรคในการตามเวชระเบียนมาใช้ และให้ผู้ป่วยประเมินความรุนแรงของโรคตนเองออกเป็น5สเกล แบบสอบถามจะสอบถามทั้งผู้ป่วยและแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน  โดยที่แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินตอบกลับจำนวน210คนจากทั้งหมด219คน(96%)

ผลลัพธ์จากการตอบแบบสอบถามกลับของผู้ป่วยฉุกเฉินจำนวน184คน พบว่า78%ต้องการให้ค้นหาข้อมูลของเวชระเบียนได้ทางอินเตอร์เนตซึ่งเข้าได้กับ 83%ของแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน  นอกจากนี้ยังพบว่ามีจำนวน <10%ต้องการให้บริษัทคอมพิวเตอร์ บริษัทประกันชีวิตหรือรัฐบาลทำการควบคุมฐานข้อมูลประวัติของผู้ป่วย ในขณะที่จำนวน>50%ต้องการให้โรงพยาบาลทำการควบคุมฐานข้อมูลเอง ผู้ป่วยที่ถูกตรวจรักษาโดยแพทย์ที่ไม่ต้องการตามเวชระเบียนมักมีอาการของโรคที่รุนแรงน้อยกว่าแพทยที่ตามหาเวชระเบียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( 1.5 vs. 2.4, P< 0.01)   รวมทั้งจำนวน57%ของแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินจะใช้เวชระเบียนถ้าสามารถตามข้อมูลจากเวชระเบียนให้ได้ภายในระยะเวลา< 5นาที

 

สรุป  ส่วนใหญ่ผู้ป่วยและแพทย์ในห้องฉุกเฉินสมัครใจที่จะตามเวชระเบียนโดยเฉพาะในกรณีเป็นผู้ป่วยของโรงพยาบาล แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินมักค้นหาข้อมูลจากเวชระเบียนโดยเฉพาะเมื่อทำการรักษาในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากๆ  และความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยสำคัญมากต่อการทำงานในห้องฉุกเฉิน

 

[West J Emerg Med. 2012;13(2):172–175.]

Cover page of การประชุมร่วมของสมาคมภาวะฉุกเฉินทางจิตเวชของประเทศอเมริกาในโครงการ BETA Psychopharmacology เกี่ยวกับเรื่อง……จิตเภสัชวิทยาของภาวะกายใจไม่สงบ

การประชุมร่วมของสมาคมภาวะฉุกเฉินทางจิตเวชของประเทศอเมริกาในโครงการ BETA Psychopharmacology เกี่ยวกับเรื่อง……จิตเภสัชวิทยาของภาวะกายใจไม่สงบ

(2012)

ภาวะกายใจไม่สงบ(agitation)พบบ่อยทั้งในภาวะฉุกเฉินทางอายุรกรรมและจิตเวช การรักษาพยาบาลได้อย่าง เหมาะสมในกรณีดังกล่าวถือเป็นสมรรถนะหลักอย่างหนึ่งของแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ในบทความนี้ผู้นิพนธ์ ได้รวบรวมการใช้ยารักษาโรคจิตในกลุ่ม first-generation second-generation และยา benzodiazepines เพื่อใช้ ในการรักษาภาวะกายใจไม่สงบ(agitation)ชนิดเฉียบพลัน รวมทั้งนำ�เสนอแนวทางจำ�เพาะในการรักษาภาวะกาย ใจไม่สงบ(agitation)ที่สัมพันธ์กับภาวะต่างๆได้แก่ การได้รับสารพิษ ภาวะจิตเภท อาการเพ้อ(delirium) รวมทั้ง เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ การใช้ยาเพื่อรักษาภาวะกายใจไม่สงบควรพิจารณาตามสาเหตุก่อโรคที่เป็นไปได้มาก ที่สุด ถ้าภาวะกายใจไม่สงบเกิดจากอาการเพ้อ(delirium)หรือโรคทางกายอื่นๆ แพทย์ควรทำ�การรักษาสาเหตุก่อ โรคเป็นลำ�ดับแรกแทนที่จะให้เพียงแค่ยารักษาโรคจิตหรือยา benzodiazepines เท่านั้น [West J Emerg Med. 2012;13(1):26–34.]